Freight forwarder มีความสำคัญต่อโลจิสติกส์อย่างไร?
เมื่อเอ่ยถึงคำว่า Shipping ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักจะคุ้นเคยคำๆ นี้เป็นอย่างดี แต่สำหรับอาชีพใหม่ ที่เรียกว่า Freight Forwarder คำนี้อาจยังไม่เป็นที่คุ้นหูกันมากนัก
จริงๆ แล้ว Freight Forwarder มีพัฒนาการมาจาก Shipping ซึ่งหน้าที่หลักของ Shipping คือจัดการทุกขั้นตอนเกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศ ทั้งดำเนินพิธีศุลกากร ติดต่อบริษัทสายเดินเรือ สายการบิน บริษัทตัวแทนสายการบิน การท่าเรือ ผู้ให้บริการขนส่งทางรถบรรทุก ตลอดจนหน่วยงานราชการต่างๆ ตามข้อกำหนดในบทบัญญัติตามกฎหมาย หรืออาจเรียกได้ว่าเป็น ‘ผู้ให้บริการโลจิสติกส์แบบครบวงจร’
เมื่อระบบของตู้คอนเทนเนอร์เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาการขนส่ง เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น Shipping ในยุคก่อน อาจมีข้อจำกัดด้านการใช้ภาษาอังกฤษและเครือข่ายที่ยังไม่กว้างขวางมาก จึงทำให้เกิดอาชีพ Freight Forwarder ขึ้นมา ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษและมีเครือข่ายจำนวนมาก ที่มีส่วนช่วยให้การดำเนินการขนส่งเป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว รองรับกับระบบโลจิสติกส์โลก ที่มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด และมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในทุกๆ ปี
บทบาทของ Freight Forwarder ดูจะชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อมี 2 สมาคมในเมืองไทย ที่ให้บริการด้าน Freight Forwarding ได้แก่ สมาคมตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศไทยหรือ TAFA และสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศหรือ TIFFA ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของธุรกิจ Freight Forwarder ในเมืองไทย โดยสมาคมแรกจะเน้นไปที่ตัวแทนการขนส่งทางอากาศ ส่วนสมาคมที่สองมุ่งไปที่ตัวแทนขนส่งทางทะเลและการขนส่งหลายรูปแบบ
แล้วหน้าที่ของ Freight forwarder ทำอะไรบ้าง?
- เป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสินค้าและผู้รับขนส่งสินค้า
- เป็นตัวแทนในการจัดหาและจัดการขนส่งสินค้าของผู้นำเข้า-ส่งออก ไปยังเมืองท่าปลายทาง
- เป็นผู้ส่งสินค้าโดยตรง ซึ่งอาจเป็นผู้ประกอบการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport Operator) หรืออาจเป็นผู้ขนส่งสินค้าที่ไม่ใช่เจ้าของเรือ (Non-Vessel Operating Common Carrier : NVOCC)
ขอบเขตการให้บริการ ได้แก่
- จัดหาระวางบรรทุกให้แก่ลูกค้า
- บริการด้านพิธีการศุลกากรให้แก่ลูกค้า
- จัดทำเอกสารนำเข้าและส่งออกต่างๆ ให้แก่ลูกค้า
- บริการรับ-ส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก
- บริการเก็บรักษาสินค้า
- บริการบรรจุหีบห่อ
- บริการรวบรวมสินค้า
- บริการกระจายสินค้า
ดังนั้น หากคุณเป็นผู้ประกอบการมือใหม่ และต้องการ Freight Forwarder ที่สามารถให้บริการครบวงจรเช่นนี้ สามารถศึกษาเรื่อง 6 ปัจจัยเลือกใช้บริการขนส่งยุค E-Commerce! อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีตัวแทนที่ให้บริการขนส่งมากมายในเมืองไทย ที่มีประสบการณ์เรื่องการขนส่งมายาวนาน สามารถจัดการเรื่องเอกสารจำนวนมากให้กลายเป็นเรื่องง่ายและถูกต้องตามกฎหมาย ต้องยกให้ KIG Logistics เรามีทีมงานมืออาชีพทั้งในจีนและไทย สามารถนำเข้าสินค้าจากจีนมาไทยได้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง ทั้งออกใบขน ออก Form E สำหรับใช้ลดหย่อนภาษีนำเข้าจากจีนต่ำสุด 0% มีใบกำกับภาษีที่ใช้ลงบัญชีได้ เอกสารทุกใบเป็นชื่อของลูกค้า ขนส่งทางรถจากจีนมาไทยด้วยเรทเพียง 29 บาท/กก. ใช้ระยะเวลา 3-5 วัน พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ เพิ่มความสบายใจมากยิ่งขึ้นกับระบบตรวจเช็คสถานะสินค้าตลอด 24 ชั่วโมง