ชิปปิ้งจีน ระบบโลจิสติกส์ มีความสำคัญต่อธุรกิจเกือบทุกประเภท ทั้งในส่วนของการจัดหาวัตถุดิบ การผลิต และการจัดจำหน่าย
ในหลายๆ ธุรกิจ ต้นทุนการขนส่งยังถือเป็นต้นทุนที่สำคัญอย่างมาก ที่มีผลกระทบต่อต้นทุนรวมของผลิตภัณฑ์และบริการ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ากระบวนการอื่นๆ ในระบบ Supply Chain
เมื่อทรัพยากรต้นทุนมีราคาเพิ่มสูงขึ้น ผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์จำเป็นต้องแบกรับภาระต้นทุนการขนส่งสินค้าที่สูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการฯ จึงต้องมีการวางแผนกำหนดกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนในการขนส่งดังต่อไปนี้
1. ใช้พลังงานทางเลือก
ปรับเปลี่ยนพลังงานที่ใช้ในการขนส่ง จากน้ำมันดีเซลหรือเบนซิน เป็นไบโอดีเซลหรือก๊าซ CNG ซึ่งการใช้ก๊าซ CNG จะประหยัดกว่าการใช้น้ำมันประมาณ 60-70% อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจติดตั้งระบบ NGV ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีการตัดสินใจที่ละเอียดถี่ถ้วน เนื่องจากการติดตั้งระบบ NGV นั้น ใช้งบประมาณสูง ผู้ประกอบการควรพิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ หนึ่งคือพิจารณาประเภทของเครื่องยนต์ สถานีบริการ NGV หรือเส้นทางในการขนส่ง และสามคือพิจารณาผลตอบแทนการลงทุน ซึ่งการพิจารณาทั้งสามองค์ประกอบเหล่านี้ จะทำให้ผู้ประกอบการเห็นถึงความเป็นไปได้ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
2. ปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง
ปัจจุบันประเทศไทยใช้วิธีการขนส่ง(ชิปปิ้งจีน)ทางถนนมากกว่าร้อยละ 80 ของปริมาณการขนส่งสินค้าโดยรวมของประเทศ เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานระบบการขนส่งในประเทศ ได้เอื้ออำนวยให้สามารถขนส่งถึงที่หมายปลายทางได้อย่างสะดวกสบายและรวดเร็ว จึงได้รับความนิยมสูงสุดสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ E-Commerce, นักธุรกิจออนไลน์ ฯลฯ
3. ศูนย์กระจายสินค้า
การมีศูนย์กระจายสินค้า จะช่วยทำให้สามารถลดต้นทุนการขนส่งได้เนื่องจากการขนส่งตรงถึงลูกค้าปลายทางโดยไม่มีศูนย์รวบรวมพักสินค้า ที่เป็นศูนย์กลางการขนส่ง ทำให้ส่วนใหญ่ต้องขนส่งรถเที่ยวเปล่ากลับ หรือส่งสินค้า ไม่เต็มคันรถ ซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าว ทำได้โดยการมีศูนย์กระจายสินค้า ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีโครงข่ายกระจายสินค้า ทำหน้าที่รวบรวมสินค้าให้เต็มคันรถหรือจัดพาหนะให้เหมาะสมกับจำนวน สอดคล้องกับสถานที่ส่งมอบสินค้า อีกทั้งยังมีเครือข่ายในการรวบรวมสินค้า หรือเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งไปสู่รูปแบบที่ประหยัดพลังงานมากขึ้น
4. ขนส่งสินค้าทั้งเที่ยวไปและกลับ
การเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งด้วยการลดการวิ่งเที่ยวเปล่า เพราะการขนส่งโดยทั่วไปเมื่อส่งสินค้าเสร็จจะตีรถวิ่งเที่ยวเปล่ากลับมา ทำให้เกิดต้นทุนของการประกอบการเพิ่มสูงขึ้นโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งต้นทุนที่เกิดขึ้นมานี้ นับเป็นต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า (Non-value added cost) และผู้ประกอบการจำเป็นต้องแบกรับภาระต้นทุนเหล่านี้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ต้นทุนการประกอบการสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม การบริหารการขนส่งเที่ยวกลับ ในปัจจุบันยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนักเนื่องจากไม่ทราบปริมาณความต้องการในการขนส่งสินค้า รวมถึงจุดหมายปลายทางของสินค้า ที่สำคัญคือปริมาณความต้องการในการขนส่งสินค้าระหว่างต้นทางและปลายทางมักจะมีปริมาณไม่เท่ากัน
นอกจากนี้ การบริหารการจัดส่งเที่ยวกลับจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ยังขึ้นอยู่กับการบริหารด้านข้อมูลข่าวสาร (Information Flow) ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบการจะต้องให้ความร่วมมือ มีการวางแผน การคาดการณ์ถึงความต้องการ รวมไปถึงการเติมเต็มสินค้า (Collaborative planning forecasting and replenishment : CPFR)ให้เต็มคันรถอีกด้วย
5. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นประโยชน์
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยลดต้นทุนระบบโลจิสติกส์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง เราเรียกว่าระบบบริหารจัดการการขนส่งสินค้า (Transportation Management System; TMS) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการวางแผนการขนส่ง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของธุรกิจขนส่ง นั่นหมายถึง ความรวดเร็วและประหยัดต้นทุนให้มากที่สุด
การทำงานของระบบ TMS จะครอบคลุมตั้งแต่การจัดการใบส่งสินค้า การเลือกเส้นทางที่ประหยัดที่สุด การใช้รถอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดตารางเดินรถ การจัดสินค้าขึ้นรถแต่ละคัน ล้วนแล้วแต่เป็นงานที่ต้องใช้เวลาในการวางแผนค่อนข้างมาก หากต้องการให้ต้นทุนค่าขนส่งต่ำสุด ดังนั้น ระบบวางแผนการจัดส่งสินค้า จึงเข้ามาช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการจัดส่งสินค้า ได้อย่างรวดเร็วโดยอาศัยข้อมูลจากระบบติดตามยานพาหนะอัตโนมัติด้วยระบบดาวเทียมบอกตำแหน่ง ฯลฯ
KIG Logistics ผู้ให้บริการนำเข้าสินค้าจากจีน(ชิปปิ้งจีน)มาไทยแบบถูกต้องตามกฎหมาย ช่วยผู้ประกอบการประหยัดต้นทุนการขนส่ง ด้วยค่าขนส่งเรทมาตรฐานเพียงกิโลกรัมละ 29 บาท พร้อมดำเนินพิธีการศุลกากรให้ครบถ้วน