ชิปปิ้งจีนสถิติคนไทยใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตสูงสุดติด 1 ใน 3 ของโลก หรือเฉลี่ย 9 ชั่วโมงต่อวัน และใช้เวลาในการช้อปปิ้งออนไลน์มากที่สุด
ส่งผลให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเติบโตก้าวหน้าเป็นอย่างมาก รวมทั้งจำนวนของผู้ประกอบการออนไลน์ก็เพิ่มขึ้นมากในแต่ละปี เนื่องจากมองเห็นลู่ทางที่สดใสของการขายสินค้าออนไลน์ เป็นธุรกิจที่เริ่มต้นทำง่าย ต้นทุนต่ำ กำไรดี แล้วแบบนี้ ใครจะไม่อยากลอง !
ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงกลายเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตของธุรกิจ B2C (Business to Consumer) สูงเป็นอันดับที่ 1 ของอาเซียน ส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อมั่นในเทคโนโลยี ระบบ e-Payment ที่สะดวกมากขึ้น การขนส่งที่รวดเร็วทำให้ผู้บริโภคหันมาให้ความนิยมซื้อของออนไลน์อย่างต่อเนื่อง โดยอันดับแรกที่นิยมมากที่สุดคือ Facebook ทั้งในรูปแบบของการ Boost Post และ Boost Ads เพื่อเข้าถึงลูกค้าและตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ด้านผู้ใช้บริการนั้นได้มีการนำข้อมูล หรือ Big Data มาพัฒนาธุรกิจอีคอมเมิร์ซ โดยการนำมาวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อนำเสนอสินค้าใหม่ๆเพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า
ขณะที่ Social Commerce ก็มาแรงไม่แพ้กัน คนไทยเลือกซื้อสินค้าผ่าน Social Commerce มากเป็นอันดับสองรองจาก E-Marketplace เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่ซื้อง่ายขายคล่อง ลดช่องว่าง (Barrier) ระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย และเพิ่มอำนาจการต่อรองของลูกค้า ทำให้ลูกค้ามีตัวเลือกมากขึ้น
Kig Logistics มีข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับสถานการณ์ของอุตสาหกรรม E-Commerce ที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในปี 2563 มาฝากผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจนำเข้าเพื่อให้ทราบโดยทั่วกัน
1. E-Commerce ไม่ใช่แค่การค้าข้ามภูมิภาค แต่จะเป็นการค้าข้ามประเทศ
ต่อไปนี้ธุรกิจ E-Commerce จะเป็นการค้าที่ไร้พรมเเดน ไม่ใช่แค่การค้าข้ามภูมิภาค แต่จะเป็นการค้าข้ามประเทศ จากข้อมูลของสินค้าบนแพลตฟอร์ม Markrtplace รายใหญ่ในประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบจำนวนสินค้า ในปี 2562 พบว่า มีสินค้าเติบโตมากขึ้นถึึง 174 ล้านชิ้น จาก 74 ล้านชิ้นในปี 2561 เป็นสินค้าจากจีน มากถึง 77% กอปรกับนโยบายของรัฐบาล ‘Free Trade Area’ ที่จะส่งผลให้ปี 2563 การขนส่งสินค้าจากจีน(ชิปปิ้งจีน)จะรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อาทิ การขนส่งทางรถแบบไม่เต็มตู้ (LCL) ของ Kig Logistics ใช้ระยะเวลาเดินทางจากจีนมาไทยเพียง 3-5 วัน จากเดิม 4-7 วัน
2. แบรนด์จะสร้างความสัมพันธ์โดยตรงกับลูกค้ามากขึ้น
ว่ากันว่า ความสัมพันธ์ที่ดีย่อมมาจากการสื่อสารระหว่างกันบ่อยๆ หรือเป็นการสื่อสารแบบใกล้ชิดกับลูกค้า ด้วยเหตุนี้ แบรนด์สินค้ายุคใหม่ จะสร้างความสัมพันธ์โดยตรงกับลูกค้ามากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของ Marketplace รายใหญ่ในประเทศไทยที่มีแบรนด์สินค้าโดยเฉลี่ยทั้งหมด 44,000 แบรนด์ และจำนวนร้านค้าออนไลน์ ทั้งหมด 1,700 ร้านค้า หรือ 4% แสดงให้เห็นว่าจำนวนแบรนด์ที่เข้ามาเปิดร้านค้าออนไลน์ ใน Marketplace ยังคงมีจำนวนไม่มาก ควดว่าในปี 2563 จำนวนร้านค้าออนไลน์และจำนวนสินค้าจะเพิ่มมากขึ้นถึง 3 เท่าตัว ทำให้โอกาสของแบรนด์ สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาช่องทางการขายแบบเดิมอีกต่อไป
3.ไทยจะเป็นผู้นำของตลาด Social E-Commerce
ผลการวิจัย Conversational Commerce: The Next Gen of E-com by BCG เปิดเผยว่า คนไทยยอมรับว่าเคยช้อปปิ้งผ่าน Social Commerce มากถึง 40% ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีจำนวนคนช้อปปิ้งผ่าน Social Commerce มากที่สุดอีกด้วย
ในปี 2020 แพลตฟอร์มโซเชียลอีคอมเมิร์ซต่างๆ อาทิ เฟสบุ๊ค อินสตาแกรม ไลน์ฯ จะสามารถปิดการขายได้ในแอปพลิเคชั่นเดียว โดยไม่ต้องชำระสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่นธนาคารอีกต่อไป และการจะผลักให้ E-Commerce ไทยบุกตลาดต่างประเทศก็เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ เพราะเมื่อวิเคราะห์จากจุดแข็งของประเทศไทยแล้ว พบว่าเป็นเมืองน่าเที่ยวติดอันดับ 4 ของโลก และสินค้าไทยก็เป็นที่ชื่นชอบของหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็น
-เวียดนาม ชอบสินค้าอุปโภคบริโภคของไทย เครื่องสำอาง และสินค้าเกี่ยวกับเด็ก
-อินโดนีเซีย หลงใหลอาหารทานเล่น (Snack) ของไทย
-อินเดีย นิยมสินค้าเครื่องปรุงรสอาหารไทย เครื่องสำอาง
-จีน คลั่งไคล้เครื่องสำอาง สมุนไพร เสื้อผ้าและกระเป๋า
นอกจากนี้ ยังมีอีกปัจจัยที่ลูกค้ามักให้ความสำคัญในการตัดสินใจซื้อสินค้ออนไลน์เป็นอย่างมาก นั่นคือระบบการขนส่งหรือด้านโลจิสติกส์ (Logistics) ซึ่งมีการพัฒนาไปตามความต้องการของลูกค้าต่อเนื่อง โดยเฉพาะปัจจุบัน เน้นการจัดส่งรวดเร็ว ไม่ต้องรอนาน ทางรถ 3-5 วันถึง และทางเรือประมาณ 15-30 วัน สำหรับการนำเข้าสินค้าจากจีน (ชิปปิ้งจีน) ตลอดจนมีระบบการติดตาม (Tracking) ตรวจสอบสถานะการจัดส่งที่แม่นยำ ทำให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการสั่งซื้อ คลิกดูขั้นตอนการนำเข้าสินค้าได้ ที่นี่