ชิปปิ้ง บทสรุปของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ก่อนและหลัง วิกฤต COVID-19

ชิปปิ้ง บทสรุปของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง บทสรุปของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ก่อนและหลัง วิกฤต COVID-19                                                                                         768x402

ชิปปิ้ง เมื่อสถานการณ์อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ทั่วโลก เกิดความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในปี 2019 ที่ผ่านมา โดยมีอัตราการเติบโตของปริมาณการค้าชะลอตัวอยู่ที่ 1.2%

ทั้งสาเหตุจากข้อพิพาททางการค้า และกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม

โดยเฉพาะไตรมาสที่ 1 ปี 2020 เกิดการระบาดของ COVID-19 ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกหยุดชะงัก และการลงทุนในห่วงโซ่อุปทานทวีความรุนแรงอย่างรวดเร็ว

การขนส่งสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ในเส้นทางการค้าข้ามสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิกกลับหดตัวลง เนื่องจากวิกฤต COVID-19 ส่งผลให้การผลิตของจีนปิดตัว ภาวะเศรษฐกิจถดถอยฉับพลันในอเมริกาเหนือและยุโรป รวมไปถึงเกิดความล่าช้าในการขนส่งทางเรือและการดำเนินงานทางท่าเรือ

KIG Logistics ผู้ให้บริการนำเข้าสินค้าจากจีน รวบรวมเอาบทสรุปของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ที่ได้รับผลกระทบ ทั้งช่วงที่เกิด COVID-19 และทิศทางหลังจากนี้ จะเป็นอย่างไรต่อไป มาดูกันเลย

อุตสาหกรรมขนส่งในช่วง COVID-19

อุตสาหกรรมการเดินเรือดูเหมือนจะเป็นการขนส่งระหว่างประเทศที่ผู้ให้บริการชิปปิ้งนิยมใช้ ปัจจุบันได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ในขณะที่การขนส่งทางถนนในประเทศกลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากการขนส่งทางทะเล เป็นการขนส่งหลักสำหรับการค้าระหว่างประเทศ อีกทั้งยังใช้บรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ได้มากกว่า จีนจึงแก้ปัญหาด้วยการเลือกใช้เส้นทางเดินเรือที่อาจทำให้สินค้าไปถึงที่หมายช้าลงกว่าเดิม ซึ่งยังคงทำให้การขนส่งทางเรือดำเนินไปต่อได้

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมการบินในช่วงเวลาดังกล่าว ได้กลายมาเป็นพระเอกขี่ม้าขาวที่ช่วยให้การขนส่งสินค้าดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการแพร่กระจายที่รวดเร็วของ COVID-19 ยิ่งทำให้ผู้ให้บริการขนส่งทางอากาศต้องทำการขนส่งอย่างรวดเร็วตาม เพื่อตอบสนองความต้องการสินค้าที่จำเป็น

สหรัฐอเมริกา ยุโรป เกาหลีใต้ และอีกหลายประเทศทั่วโลก เล็งเห็นความสำคัญของการนำเครื่องบินไอพ่นและเครื่องบินโดยสารที่ไม่ได้ทำงานในช่วงเวลานี้ มาใช้ประโยชน์ในการเคลื่อนย้ายเวชภัณฑ์ ยา และอาหารไปยังศูนย์กลางขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งรัฐบาลคาดว่าจะขจัดอุปสรรทางเศรษฐกิจและลดข้อจำกัดในการดำเนินการขนส่งสินค้าได้เป็นอย่างดี

มาตรการบรรเทาผลกระทบและการวางแผนรับมือฉุกเฉิน

อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ต้องมีการปรับตัวอย่างหนักเพื่อให้บริการฉุกเฉิน และกระจายพัสดุที่จำเป็นออกไปในช่วงเวลายากลำบาก บริษัทโลจิสติกส์จึงหันมาให้ความสำคัญกับรูปแบบ end-to-end (คือ กระบวนการโลจิสติกส์แบบครบวงจร) โดยมีการประเมินสถานการณ์แบบ ‘What-if’ เพื่อลดความเสี่ยงในการขนส่งฉุกเฉิน รวมทั้งนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้เพื่อให้การขนส่งดำเนินไปอย่างคล่องตัว อาทิ การนำเอา Internet of Thing (IoT) มาใช้จัดการด้านคลังสินค้าและกระจายสินค้า การใช้ระบบหุ่นยนต์ดำเนินงานคลังสินค้าบนแพลตฟอร์ม SaaS (Software as a Service) เป็นต้น

หลัง COVID-19 อุตสาหกรรมโลจิสติกส์จะเปลี่ยนไปอย่างไร ?

การระบาดครั้งใหญ่ของ COVID-19 แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีดิจิทัลบางอย่างมีความจำเป็นที่ต้องนำมาใช้ดำเนินธุรกิจ การสร้างตัวเลือกและพันธมิตรให้แพร่ขยายไปทั่วโลก จะช่วยให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น และเป็นวิธีที่ดีกว่าต้องทนต่อการหยุดชะงักที่เกิดจากการระบาดใหญ่

อย่างไรก็ตาม การกระจายอำนาจนี้ จะช่วยให้สถานที่ตั้งบางแห่งเปิดได้เร็วขึ้น ขณะที่คนอื่นปิดหรือย้ายไปทำงานระยะไกล ผู้ประกอบการชิปปิ้งจึงควรใช้บทเรียนจากวิกฤตในปัจจุบันเป็นแรงบันดาลใจในการพัฒนาซัพพลายเออร์ให้กว้างขึ้นและขยายฐานพันธมิตรผู้ให้บริการ ตลอดจนทดลองออกแบบวิธีการใหม่ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับปัญหาเดียวกัน หากเกิดความวุ่นวายในระดับโลกอีกครั้ง

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *