ชิปปิ้ง 10 ทักษะของการเป็น ‘ผู้จัดการโลจิสติกส์’

ชิปปิ้ง 10 ทักษะของการเป็นผู้จัดการด้านโลจิสติกส์ ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง 10 ทักษะของการเป็น ‘ผู้จัดการโลจิสติกส์’ 10                                                                                                                    768x402

ชิปปิ้งในอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์นั้น ตำแหน่งของผู้จัดการโลจิสติกส์ ถือว่ามีบทบาทสำคัญมากที่สุด

เพราะเป็นตำแหน่งที่ต้องตัดสินใจเรื่องสำคัญ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกฝ่าย เพื่อให้กระบวนการทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นมากที่สุด

ทั้งนี้ ตำแหน่งผู้จัดการโลจิสติกส์ อาจจะไม่ใช่ทุกคนที่ทำได้ แม้จะทำงานเก่ง แต่ทักษะบางประการ จำเป็นต้องมีมากกว่าการทำงานเก่ง เช่น ประสบการณ์ และวิสัยทัศน์ โดยต่อไปนี้คือคุณสมบัติที่ดีของการเป็นผู้นำในบริษัทขนส่งเราได้รวบรวมมาฝาก

  1. ความคิดก้าวไกล และมองไปข้างหน้า

ผู้จัดการโลจิสติกส์ต้องพัฒนาความสามารถในการคาดการณ์ถึงความต้องการที่เป็นไปได้ของบริษัท รวมถึงผลลัพธ์ของการดำเนินงานต่างๆ บนซัพพลายเชนทั้งหมด มีความสามารถในการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและวางแผนรับมือปัญหาได้อย่างแม่นยำ

  1. มี่ทักษะเชิงตัวเลขและการวิเคราะห์ที่แข็งแกร่ง

ไม่จำเป็นต้องจบมาทางด้านคณิตศาสตร์หรือสถิติก็ได้ แต่หากคุณมีความรู้ด้านการอ่านและวิเคราะห์ข้อมูลเป็น ก็จะช่วยในการตีความหมายที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทและเป็นผลดีสำหรับธุรกิจโลจิสติกส์และชิปปิ้ง ถือเป็นการพัฒนาทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลได้

  1. มีความรู้ด้านอุตสาหกรรมกว้างขวาง

ผู้จัดการโลจิสติกส์ควรมีการจัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ล่าสุดและแนวโน้มของการขนส่งในอนาคต รวมไปถึงมีการศึกษาข้อมูล และวิธีคำนวณค่าระวาง ตลอดจนมีความเข้าใจเกี่ยวกับระดับค่าระวางที่ถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลต่อการกำหนดราคา LTL (Less-than-Truckload) เนื่องจากอุตสาหกรรมขนส่ง มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง จึงต้องมั่นใจว่าซัพพลายเชนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนต้องใช้เวลาทำการวิจัยถึงกระบวนการและมาตรฐานการดำเนินงานที่ดีที่สุด

  1. มีการบริหารทีมงานที่มีประสิทธิภาพ

ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ก็เพราะความพยายามของทีมทำงาน ดังนั้นการเป็นผู้นำทีมที่ดีต้องเริ่มต้นจากการจัดสรรงานอย่างชาญฉลาด มีความใส่ใจ และเห็นถึงความพยายามของทีม ให้กำลังใจและยกย่องการทำงานของเพื่อนร่วมทีม ตลอดจนมีความเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน

  1. ใส่ใจในรายละเอียด

การจัดระเบียบและใส่ใจรายละเอียดเป็นสิ่งจำเป็นมาก ทั้งนี้ รวมไปถึงมีการจัดระบบการทำงานที่สามารถตรวจสอบและดูแลได้อย่างถั่วถึง มีประสิทธิภาพและสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว

  1. ตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว

การเป็นผู้นำ ต้องตัดสินใจได้เด็ดขา รวดเร็ว และลงมือดำเนินการทันที โดยเฉพาะหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ต้องมีการเตรียมแผน 1 แผน 2 และแผน 3 อยู่เสมอ นอกจากนี้ ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ให้มั่นคงอยู่เสมอ หากคุณอยากเป็นผู้นำก็จงหมั่นเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะนี้ เพื่อช่วยให้สามารถนำธุรกิจขนส่งก้าวไปข้างหน้าได้

  1. รู้จักปรับตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลง

สิ่งที่เกิดขึ้นแน่นอนคือ ‘การเปลี่ยนแปลง’ ปัญหาและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นควรเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและมีการปรับตัวอย่างมีสติอยู่เสมอ

  1. มีความรับผิดชอบ

ต้องมีความพร้อมรับผิดชอบต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ตลอดจนช่วยคิด หาแนวทางออก และการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับเพื่อนร่วมทีมเพื่อช่วยนำพาให้บริษัทก้าวผ่านอุปสรรคไปได้อย่างราบรื่น

  1. คล่องแคล่ว ฉับไว และติดตามสถานการณ์การทำงานอยู่เสมอ

ควรมีการติดตามองค์ประกอบบนห่วงโซ่อุปทาน หรือมีส่วนรวมตั้งแต่กระบวนการดำเนินงานจากจุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดสิ้นสุด โดยระหว่างการดำเนินงานที่เกิดขึ้นนั้น ควรมีการจดบันทึกและหาวิธีแก้ปัญหาที่สามารถเป็นไปได้

  1. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

ธุรกิจต้องการคนที่สามารถบริหารคนที่เข้ามาจากทุกสายอาชีพที่ทำงานร่วมกัน ตั้งแต่พนักงานไปจนถึงเจ้าของซัพพลายเออร์ รวมถึงลูกค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการทำธุรกิจ การสื่อสารแบบตัวต่อตัวอาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย เพราะฉะนั้นควรเขียนรายละเอียด ข้อเสนอที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้การสื่อสารทางธุรกิจสำเร็จลุล่วงด้วยดี

อย่างไรก็ตามธุรกิจขนส่งหรือชิปปิ้งจำเป็นต้องมีทักษะต่อไปนี้ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ‘6 ทักษะจำเป็น คนทำงานสายโลจิสติกส์ควรมี!’

อ้างอิงข้อมูล : https://cerasis.com/logistics-manager/

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *